สมาคมเพื่อนชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม
“ก้าวสู่ปีที่ 13…ชวนเพื่อนก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืน”
มากกว่า 30% ของพื้นที่ในประเทศไทย คือพื้นที่น้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจกล่าวได้ว่ามันคือพื้นที่แห่งชีวิต เพราะเป็นแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร และเป็นแหล่งน้ำต่าง ๆ บึง บ่อ ทะเลสาบ หนอง คลอง แม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตตลอดสายที่ได้ไหลผ่าน บนผืนน้ำระยิบระยับ นอกจากทิวทัศน์ที่สวยงาม ปลาที่แหวกว่าย มันยังพอจะเป็นอะไรได้อีกนะ?
หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) คือ ความร่วมมือกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนนั่นเอง ครั้งนี้จะขอพูดถึงตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ว่าเค้าตรวจวัดด้านไหนบ้าง ซึ่งบางท่านอาจจะค่อนแคะว่า จังหวัดระยอง ได้อุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ 4 แต่คุณภาพสิ่งแวดล้อมของจังหวัดยังไม่เป็นไปอย่างที่หลายๆท่านอยากจะได้ วันนี้สมาคมเพื่อนชุมชน อยากเห็นจังหวัดระยองเป็น “เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม” และเป็นเหมือนบ้านของพวกเราเช่นกัน
จากบทความทั้ง 2 ตอน “การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” จะช่วยสร้างบ้านเราให้น่าอยู่ในทุกๆด้านทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน โดยมุ่งดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน ซึ่งการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต้อง “พัฒนาอุตสาหกรรมให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) หมายถึง เมืองที่มีการเจริญเติบโตโดยมีอุตสาหกรรม เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักและมีความสมดุลกับการพัฒนาทางสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชน และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ประเด็นใหญ่ที่น่าเป็นห่วงอยู่เสมอ และยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบันนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ปัญหาขยะปริมาณมากที่กำจัดเท่าไรก็ไม่หมดเสียที โดยเฉพาะตัวการสำคัญอย่างขยะพลาสติก ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีความพยายามจากหลายกลุ่ม หลายองค์กร ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือบรรเทาปัญหาเหล่านี้ลงบ้างแล้วก็ตาม แต่หากยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนหมู่มากได้...มันก็คงไม่มากพอ !
#มลพิษทางอากาศ คือ อากาศที่มีสิ่งสกปรกหรือสารพิษเจือปนอยู่ในอากาศเกินค่ามาตรฐาน จนทำให้คุณภาพอากาศอยู่ในขั้นวิกฤต มีรูปแบบเป็นไอหมอกพิษ เช่น PM10, PM2.5 รวมถึงก๊าซโอโซน โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากครัวเรือน การทำอุตสหกรรม รวมถึงไฟป่า