“เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ Eco Industrial Town”

ตอนที่ 2

“เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ Eco Industrial Town” ตอนที่ 2

ฉบับที่แล้วเราได้พูดถึง “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town)” หมายถึง เมืองที่มีการเจริญเติบโตโดยมีอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก และมีความสมดุลกับการพัฒนาทางสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชน และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) คือ ความร่วมมือกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนนั่นเอง ครั้งนี้จะขอพูดถึงตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ว่าเค้าตรวจวัดด้านไหนบ้าง ซึ่งบางท่านอาจจะค่อนแคะว่า จังหวัดระยอง ได้อุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ 4 แต่คุณภาพสิ่งแวดล้อมของจังหวัดยังไม่เป็นไปอย่างที่หลายๆท่านอยากจะได้ วันนี้สมาคมเพื่อนชุมชน อยากเห็นจังหวัดระยองเป็น “เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม” และเป็นเหมือนบ้านของพวกเราเช่นกัน วันนี้เราจะสร้างบ้านเราให้น่าอยู่ มีความเกื้อกูลกัน และกันในทุกๆด้านทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน โดยมุ่งดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน เรามาดูกันว่าเราจะช่วยกันทำให้บ้านเราเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต้องดำเนินการด้านไหนบ้าง

กรอบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แบ่งเป็น 5 มิติ 20 ด้าน ดังนี้

1. มิติด้านกายภาพ

มีทำเลที่ตั้งสอดคล้องกับผังเมือง และมีการวางผังการใช้ประโยชน์พื้นที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 ด้าน

การวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่

การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ

2. มิติด้านเศรษฐกิจ

มีความคุ้มค่าในการผลิต และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และชุมชนอย่างมั่นคง แบ่งเป็น 4 ด้าน

เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจท้องถิ่น

การตลาด

การขนส่ง

3. มิติสิ่งแวดล้อม

การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า แบ่งเป็น 9 ด้าน

การจัดการคุณภาพน้ำ

การจัดการคุณภาพอากาศ

การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้

การจัดการพลังงาน

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ

การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ

การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ

กระบวนการผลิต

4. มิติสิ่งแวดล้อม

การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษ ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า แบ่งเป็น 9 ด้าน

การจัดการคุณภาพน้ำ

การจัดการคุณภาพอากาศ

การจัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้

การจัดการพลังงาน

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศ

การจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ

การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ

กระบวนการผลิต

5. มิติการบริหารจัดการ

การบริหารจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 3 ด้าน

การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม

การพัฒนาและรักษาระบบบริหารระดับสากล

ข้อมูลข่าวสารและการรายงาน