#ผลกระทบของโควิด-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมากมายในระดับโลก #ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ #การเมือง #วิถีชีวิตและโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
ทั่วโลกต่างได้รับ ผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งบางส่วนเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากการจำกัดการเดินทาง และการชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้คุณภาพอากาศ และคุณภาพน้ำ ในหลายประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ในทางกลับกัน การเพิ่มขึ้นของขยะพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกประเภท PPE (เช่น หน้ากากอนามัย และถุงมือยาง) ขยะติดเชื้อ และขยะอื่นๆ จากโรงพยาบาล กลับเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม
#ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม
1. มลพิษทางอากาศและการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลดลง
ในขณะที่อุตสาหกรรม การขนส่ง และบริษัทต่างๆ หยุดทำการเนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ลดลงอย่างกะทันหัน สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ในปี 2020 มลพิษทางอากาศในกรุงนิวยอร์กลดลงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า อันเป็นผลจากการจำกัดการเดินทางของประชากร นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศจีนอัตราการปล่อยแก๊สไนตรัสออกไซด์และคาร์บอนมอนอกไซด์ลดลงร้อยละ 50 เนื่องจากคำสั่งระงับกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมหนัก ตามรายงานของวารสาร Science & Nature
2. มลพิษทางน้ำและเสียงลดลง
ภาพข่าวที่เป็นกระแสและเป็นที่กล่าวถึงไปทั่วโลก คือเหตุการณ์ในเวนิส เมื่อลำคลองที่ตัดผ่านเมืองประวัติศาสตร์แห่งนี้กลับมาใสสะอาดอีกครั้ง เนื่องจากปริมาณเรือที่เข้าออกเมืองลดลงกว่าร้อยละ 90 รวมไปถึงจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ที่ประเทศอินเดีย ในแม่น้ำคงคาและยมุนา พบปริมาณมลพิษในแม่น้ำลดลง เนื่องจา
3. ระบบนิเวศและแหล่งท่องเที่ยวได้รับการฟื้นฟู
หมีหมาปรากฏตัวบนถนนในอุทยานแห่งชาติเข้าใหญ่ช่วงประกาศปิดอุทยานฯ เนื่องจากการระบาดของโควิด-19
ภาพถ่าย ปกครอง ทองเนื้อแข็ง หัวหน้าศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 3 จ.นครราชสีมา
พื้นที่ชายหาดหลายแห่งทั่วโลก รายงานพบแม่เต่าทะเลหลายชนิดขึ้นกลับขึ้นมาวางไข่ หลังจากไม่มีนักท่องเที่ยว
จากนั้นสำนักข่าวในประเทศไทยต่างรายงานข่าวที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูของสิ่งแวดล้อมตามมาเป็นระยะ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่พบสัตว์ป่าหลายชนิดเดินบนท้องถนน แม่เต่าทะเลกลับขึ้นมาวางไข่จำนวนหลายรังในช่วงปี 2020 แนวปะการังมีโอกาสฟื้นตัว รวมไปถึงสภาพของแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งกลับฟื้นตัวอีกครั้ง
#ผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม
1. ขยะติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับประเทศไทย ปริมาณขยะติดเชื้อทั่วประเทศก็มีสัดส่วนสูงขึ้นเช่นกัน ข้อมูลจากกรมอนามัยเผยว่า ช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอัตราการก่อขยะติดเชื้อราว 147,770 กิโลกรัมต่อวัน หรือสูงขึ้นจากช่วงเวลาปกติ 1,900 กิโลกรัม
2. การใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยและการกำจัดอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ชุด PPE ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีปริมาณเพิ่มขึ้นในช่วงแรกของการระบาดใหญ่ โดยเฉพาะในประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง
ในช่วงปี 2020 หน้ากากอนามัยจำนวนมาก ถูกทิ้งอย่างไม่ถูกต้อง และปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ชี้ว่า โควิด-19 ทำให้ประชาชนใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นจาก 800,000 ชิ้น เป็นราว 1,500,000 ชิ้น ต่อวัน สอดคล้องกับข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเผยเมื่อปี 2010 ว่า สถานบริการสาธารณสุขทั้งของรัฐและเอกชนมีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันยังมีการจัดการไม่เพียงพอ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ทวีความรุนแรงและต้องจัดการเร่งด่วน ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่รับผิดชอบเสนอแนะให้กำจัดและแยกขยะอินทรีย์ในครัวเรือน และอุปกรณ์ป้องกันไวรัส อย่างเหมาะสม เนื่องจากการรวมของเสียเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค และการสัมผัสกับไวรัสของคนงานเก็บขยะ
3. ขยะมูลฝอยของชุมชนเพิ่มขึ้น
การเพิ่มขึ้นของขยะในชุมชน (ทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์) สร้างผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน การแพร่ระบาดใหญ่ที่มาพร้อมนโยบายการกักตัวที่กำหนดขึ้นในหลายประเทศ ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์สำหรับการจัดส่งถึงบ้านเพิ่มขึ้น ซึ่งปริมาณขยะในครัวเรือนส่วนใหญ่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยประเทศไทย หรือ TDRI เคยประเมินว่า 1 ยอดการสั่งอาหาร จะมีขยะพลาสติกเฉลี่ย 7 ชิ้น ประกอบด้วย กล่องอาหาร ถุงใส่น้ำจิ้ม ช้อนพลาสติก ส้อมพลาสติก ถุงใส่ช้อนส้อม ถุงน้ำซุป และถุงพลาสติกหูหิ้วสำหรับใส่อาหารทั้งหมด
ด้านสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยรายงานว่า ช่วงโควิด-19 ระบาดในรอบแรก ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 15 จากเฉลี่ยวันละ 5,500 ตันต่อวัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน ซึ่งไม่รวมถึงขยะอันตรายที่เกิดจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ที่คาดว่ามีอัตราการทิ้งหน้ากากอนามัยประมาณ 1.5 – 2 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่ทิ้งปะปนรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป
#ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมการระบาดใหญ่ครั้งนี้กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และเศรษฐกิจโลกแต่ความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกันของทุกคนจะเป็นแรงพลังให้เราสามารถเสริมสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและช่วยลดผลกระทบจากปัญหานี้ได้ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นทางออก ทั้งการลดใช้ การใช้ซ้ำ คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำเข้าสู่ระบบจัดการเพื่อนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เติบโตอย่างยั่งยืน
ขอบคุณ : www.ngthai.com
#เพื่อนชุมชนบ้านเราน่าอยู่สังคมยั่งยืน
Leave A Comment