วันโอโซนโลก world ozone day
16 กันยายน วันโอโซนโลก world ozone day
โอโซน (OZONE) เกิดจากธรรมชาติ เป็นก๊าซสีน้ำเงิน
ที่พบเป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศของโลก มีหน้าที่สำคัญ
คือ เป็นเกราะช่วยป้องกัน กรองรังสีต่าง ๆ จากดวงอาทิตย์
ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ไม่ให้เข้าสู่โลกของเรา
โดยเฉพาะรังสียูวีบี ทั้งนี้เพื่อให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และช่วยลดความร้อนสะสมในบรรยากาศอันเกิดจากรังสียูวี ทำให้ลดภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง โรคตาต้อกระจก และป้องกันระบบนิเวศวิทยามิให้เสียสมดุล
สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน คือ สารเคมีที่มีองค์ประกอบ
พื้นฐานอย่าง คลอรีน ฟลูออรีน หรือ โบรมีน
ซึ่งมีศักยภาพในการทำปฏิกิริยากับโมเลกุลโอโซนที่อยู่
ในชั้นบรรยากาศให้เกิดการแตกตัว สารทำลายโอโซนที่เรารู้จักกันดีก็คือ
สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ สารซีเอฟซี (CFCs) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นในระบบปรับอากาศรถยนต์ ตู้เย็น
ตู้แช่ เป็นต้น ส่วนสารทดแทนสารซีเอฟซี คือ สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน
หรือ เอชซีเอฟซี (HCFCs) ใช้เป็นสารทำความเย็นในระบบปรับอากาศ
และการผลิตโฟม ซึ่งยังคงเป็นสารทำลายโอโซนเช่นเดียวกัน
แม้จะในปริมาณน้อยกว่าก็ตาม
ส่วนสารทำลายโอโซนอื่น ๆ ก็จะมีอย่างเช่น สารฮาลอน
ใช้เป็นสารดับเพลิง, สารเมทิลคลอโรฟอร์ม ใช้ในการทำความสะอาด
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, สารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ ใช้เป็นสารทดสอบ
ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และสารเมทิลโบรไมด์
ที่ใช้ในการฆ่าแมลงกำจัดศัตรูพืช
ความเป็นมาของวันโอโซนโลก
ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาได้มีการนำสารเคมีซีเอฟซี
หรือคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC : chlorofluorocarbon) จำนวนมากมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น
(เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ) และอุตสาหกรรมการผลิตโฟม
ทำให้มีซีเอฟซีระเหยขึ้นสู่บรรยากาศ และไปทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน
ทำให้ก๊าซโอโซนถูกทำลาย จนมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ซีเอฟซียังสลายตัวได้ยาก จึงตกค้างในบรรยากาศได้ยาวนาน ทำให้ก๊าซโอโซนถูกทำลายได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
เมื่อก๊าซโอโซนลดน้อยลงก็จะทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต
เข้าสู่พื้นโลกได้มากจึงเป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างมาก
โดยเฉพาะการเกิดโรคมะเร็งที่ผิวหนัง ดังนั้นการกำหนดให้มีวันโอโซนโลกขึ้น ก็เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซน
เป้าหมายของการกำหนดวันโอโซนโลก
1. เพื่อกระตุ้นให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซีเอฟซี และสารฮาลอน
ซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
เราจะทำอะไรเพื่อช่วยโลกได้บ้าง
แม้จะมีสนธิสัญญาเพื่อลดและเลิกการใช้สารซีเอฟซีแล้ว
แต่สารซีเอฟซียังจำเป็นต่ออุตสาหกรรมบางชนิด
จึงยังมีการใช้ซีเอฟซีกันอยู่อีกต่อไป ก๊าซโอโซนก็ยังคงถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบเป็นภาวะโลกร้อนอย่างที่มนุษย์เรากำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เราในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของโลกจะสามารถช่วยลดสาร CFC ได้โดย
– เลือกซื้อ และใช้เครื่องปรับอากาศที่มีสัญลักษณ์ Non CFCs
– หมั่นตรวจเช็กระบบแอร์รถยนต์ในอู่ที่ได้มาตรฐาน
รวมทั้งหมั่นล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ้าน
– ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ปล่อยสาร CFC
ที่จะออกมาทำลายชั้นโอโซนได้ ดังนั้นควรเปลี่ยนตู้เย็น
ที่ใช้มานานกว่า 10 ปี และไม่เปิดตู้เย็นบ่อย
เพราะจะทำให้ระบบทำความเย็นทำงานหนัก
– เลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นลักษณะกระป๋องสเปรย์
รวมทั้งวัสดุที่ทำจากโฟมทั้งหลาย ซึ่งมีสาร CFC
เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต
และวัสดุเหล่านี้ยังย่อยสลายได้ยากอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
– tlcthai.com
– buu.ac.th
– ozonicinter.com
– wikipedia.org
– guideubon.com
– vcharkarn.com
– https://hilight.kapook.com/view/28734
Leave A Comment