สไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer)
ถูกจัดให้อยู่ในวัตถุอันตรายประเภทที่ 2 ของเหลวไวไฟ ตามประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545 เมื่อสารนี้เกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ
ทางด้านข้อมูลพิษวิทยา ได้แบ่งความเป็นพิษ 2 ลักษณะคือ พิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง
.
1. พิษเฉียบพลัน
– เมื่อถูกผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคือง
– เมื่อเข้าตา จะส่งผลให้ตาเกิดการระคายเคือง
– เมื่อหายใจหรือสูดดมเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อยุทางเดินหายใจ ทำให้ไอและหายใจลำบาก เมื่อดูดซึมจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดพิษ จะทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ง่วงซึม
– เมื่อกลืนกิน จะทำให้ระคายเคือง เป็นแผลไหม้ที่ปากและกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ปวดท้อง ปวดศีรษะ วิงเวียน อาเจียน และเซื่องซึม
.
2. พิษเรื้อรัง
– ทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมในคน
– อาจจะทำให้เกิดมะเร็งในคนและสัตว์
– เพิ่มการแท้งในสตรีมีครรภ์ที่สัมผัสกับสารนี้
– ทำให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะการทำงานของต่อมไทรอยด์และการมีประจำเดือนผิดปกติ รวมถึงมีผลต่อฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์
– ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ มีผลต่อระบบประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย
#การป้องกันตัวเองเบื้องต้น
1. อยู่ใกล้ในพื้นที่เสี่ยงให้อพยพตามคำสั่งทางการ
2. อยู่ในจุดปลอดภัยอยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการสูดดมควัน
3. สวมหน้ากาก N95 เพื่อป้องกัน การสูดดมสารเคมี
4. หากย้ายไม่ได้ให้หลบในบ้านปิดประตู/หน้าต่าง
5. ถ้าผิวระคายเคือง ให้ใช้น้ำล้างมากๆ
.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม : https://bit.ly/3hhZegQ
Leave A Comment