“การยกระดับสภาพแวดล้อม เมือง และชุมชนตามหลักการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ”
การยกระดับสภาพแวดล้อม เมือง และชุมชนตามหลักการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มีความจำเป็นต้องปรับกระบวนทรรศน์การพัฒนาเชิงพื้นที่ให้เหมาะสม เพื่อสร้างความเชื่อมโยงของการพัฒนาชนบทและเมืองให้มีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนกันและกัน นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เน้นหลักการมีส่วนร่วม การพึ่งตนเอง การช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ ที่อาศัยความเข้มแข็งของชุมชนและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม รวมพลังพัฒนาให้เมืองและชนบทมีความสงบ สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัย มีเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี วิถีชีวิตดีมีความสุข
การพัฒนากระบวนการชุมชนเข้มแข็งให้เกิดพลังของคนในชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบในการพัฒนา แก้ไขปัญหา สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นรากฐานที่มั่นคงของสังคม โดยส่งเสริมการรวมตัวของชุมชนและประชาสังคม อาศัยกลุ่มแกนวิทยากรกระบวนการจากทุกภาคส่วน จัดให้มีเวทีสร้างความเข้าใจ เรียนรู้ และดำเนินกิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ควบคู่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้คนในชุมชนได้รับการศึกษาพื้นฐานที่สอดคล้องกับศักยภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรม ได้รับการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการ และปฏิบัติเป็นอาชีพได้ ตลอดจนสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้เท่าทันโลก และค้นหาศักยภาพของชุมชน ให้สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นเป็นแกนประสานรวบรวมองค์ความรู้ในพื้นที่ ทำวิจัยร่วมกับชุมชน ควบคู่กับการสร้างฐานข้อมูล และจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนา เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของชุมชน ขณะเดียวกันความเข้มแข็งของชุมชน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญ ช่วยสร้างโอกาสที่จะเกื้อหนุนพลังการพัฒนาเพื่อฟื้นฟู และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจโดยรวม การจัดการเชิงพื้นที่ในมิติใหม่ที่มุ่งปรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เข้าสู่สมดุลและความยั่งยืน ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง สามารถรองรับการกระจายภารกิจด้านการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
Leave A Comment